ความเชื่อแห่งตน ลากหมู่คนให้ตีความผิด

ความเชื่อแห่งตน ลากหมู่คนให้ตีความผิด

1088
0
แบ่งปัน

ลูกศิษย์ : น้องอย่าเที่ยวไปตีความหมายของนิพพานให้ผิดเลย มันจะไปกันใหญ่ นิพพานเป็นอย่างนี้อย่างนั้น นี่เอาสมมติมา นิยามนิพพาน เราไม่มีทางเอาเลขคณิตป.4 ไปนิยามสมการมวล แรง พลังงานได้ฉันใด โยคาวจรที่ท่องเที่ยวไป ไฉนเลยจะนิยามนิพพานได้ นิพพานเป็นยังไงไม่รู้ จะรู้ก็ต่อเมื่อไปถึงแล้ว

พระอาจารย์ : เออ ทวดแห่งนิยามแปง เขาพูดถูก

นิพพานนี่ เด็กป.4 นิยามสมการสสาร พลังงาน เหตุปัจจัยใดๆ มันคงถูกได้แค่เด็ก ป.4

จริงๆ แล้วตลกมากๆ เลยนะ เรื่องนิยามแห่งนิพพาน ที่คนเราให้นิยามกัน

เหมือนคนมีไข่แค่เม็ดพริก แต่ประกาศฤทธ์ ขอเป็นผัวสาวงามทั้งจักรวาล ด้วยความภูมิใจในเม็ดพริกของตน

เด็กน้อย บอกว่าบนดวงจันทร์ มีกระต่ายกี่ตัว และสีอะไร

เด็กน้อยให้นิยาม จำนวนตัว นิยามแห่งสีสรร เจ้ากระต่ายบนดวงจันทร์ ด้วยความภูมิใจ

นิยามอะไร ก็ถูกทั้งนั้น เพราะเข้าใจว่าบนดวงจันทร์ มีกระต่าย

กระต่ายบนดวงจันทร์ จะตอบเด็กน้อยไงดี ว่ามีหรือไม่มี

ตอบว่ามี วันหนึ่งเด็กน้อยจะกลับมาปรามาสว่าเป็นคนหลอกลวง

ตอบว่าไม่มีหรอกนะเจ้ากระต่าย เด็กน้อยจะกลายเป็นตัวประหลาดของเพื่อนๆ ที่บอกว่ามี

ตอบไงดี ให้เด็กน้อย อยู่บนโลกนี้ได้ด้วยภูมิปัญญาของเด็กน้อย ที่กระต่ายมีและไม่มีด้วยตัวเด็กน้อย

ทุกนิยามของเด็กน้อย เราคงได้แต่ยิ้ม และให้กำลังใจ โดยการเชื่อความเห็นของเด็กน้อย

หรือให้เด็กน้อย เชื่อความเห็นเรา

คำถาม : ขณะใดกิเลสเกิด มันก็ร้อนในขณะนั้น จะไปปฎิเสธว่ากิเลสไม่ร้อน ฉันจับโดนกิเลสได้ไม่เปนไร
คนอื่นจับโดนกิเลสไม่ได้ กิเลสเป็นของเย็นสำหรับฉัน ฉันจะผรุสวาจาอย่างใดก็ได้ เพราะฉันเห็นแล้ว เข้าถึงแล้ว สัมมาวาจา คงจะต้องศึกษาอธิบายกันใหม่ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นเถรส่องบาตรกันไปโดยไม่รู้ตัว สังโยชน์ข้อใดยังคงเกิดขึ้นอยู่ นั่นก็แสดงว่ายังละสังโยชน์ข้อนั้นยังไม่ได้ อย่าเข้าใจว่าสังโยชน์เกิด แล้วฉันไม่มีสังโยชน์แล้ว
ไม่มีคือไม่เกิด
ถ้ายังเกิดคือว่ายังมี ครับ นิพพาน มันจะต้องไปโยกโย้ทำไมครับ มีอุปาทาน ก็ไม่นิพพาน ไม่มีอุปาทาน มันก็นิพพาน มีภพ ไม่นิพพาน เพราะนิพพาน มันไม่มีภพใดๆ

พระอาจารย์ : คำนิยามต่างๆ น่ะ มันมีความหมายที่ขยายได้มากไม่มีกำหนด น่ะ ปล่อยรู้

เราจะไปเอาแค่หัวข้อธรรมที่ไปจำๆ มาแล้วบอกว่า เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ นี่มันทิฏฐิ

อย่างสัมมาวาจา เราให้ความหมายที่แคบ แค่การพูด

คงลืมไปว่า โจรมันก็ พูดดี พูดเพราะ ไม่ส่อเสียด ไม่โกหก ไม่เพ้อเจ้อก็ได้

ธรรมเช่นนี้ มีช่องโหว่เยอะ ไม่เข้าใจเรื่องอะไรว่าอะไรคือ สัมมาวาจา

จำแค่ว่าวาจาคือการพูด นี่เอาความคิดตนเข้าไปแปล ถูกเอาหน่อยนึง ชูงวงว่าถูกหมดแล้ว

เอางวงที่คิดว่าถูกไว้ฟาดฟัน คิดว่าธรรมทั่งหลายนี่ เจ้าตัวรู้ดี แต่เจ้าตัวไม่รู้ว่าเป็นเด็กน้อยอธิบายกระต่ายบนดวงจันร์

สังโยชน์ก็เหมือนกัน มันรู้กันแบบเด็กน้อย ให้นิยามกระต่ายบนดวงจันทร์

อธิบายยังไง กระต่ายมันก็มีบนดวงจันทร์ สำหรับเด็กน้อย

เด็กน้อยเชื่อว่ากระต่ายมีบนดวงจันทร์ เมื่อเข้าใจว่าบนดวงจันทร์มี อธิบายเท่าไหร่ ชี้ยังไง ผิดเท่านั้น สำหรับเด็กน้อย

คนบ้าใบ้ พูดไม่ได้ นี่ เกิดมามีบุญ ไม่เพ้อเจ้อ ไม่พูดปด ไม่โกหก ไม่ส่อเสียด ยังงั้นรึ

นี่เป็นสัมมาวาจารึ

สัมมาวาจา แค่มองด้วยสายตาที่ชื่นชมจากใจ นี่เรียกได้ว่า สัมมาวาจา

ไม่ถูกใจในวลีคำพูด บอกว่านี่ไม่ใช่สำมาวาจา นี่ เด็กน้อยเขาคิดกัน

เด็กน้อยไม่รู้ว่า การแสดงออก ทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นกุศล มีสติตรอง นี่คือ สัมมาวาจา

แม้แต่ สัมมา อาชีโว ก็เป็นนัยยะนี้

เพียงแค่ส่งสายตาชื่นชม ด้วยใจที่เป็นกุศล นี่ก็เป็นสัมมาอาชีโว

สัมมาอาชีโว เป็นอาชีพแห่งการดำเนินใจมาทางกุศล มีสติใคร่ครวญพิจารณาโยนิโสมนสิการ เป็นอาชีพหล่อเลี้ยงใจ

นี่ สัมมาอาชีโว

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาไหนๆ ก็นัยยะเดียวกัน

สัมมาคือ ใจที่มีสติไม่ไหลไปตามกระแสแห่งตนและโลก ที่เป็นตัณหาผุดขึ้นมาไม่รู้จบ

นี่เรียกว่าใจมันดำเนินมาตามทางมรรค ดำเนินไปตามกระแสธรรม

หากใจมันขาดสติ ไหลไปตามทางกระแสแห่งตนและโลก ไม่ได้ดำเนินไปตามกระแสธรรม

นี้เรียกว่า ใจมันดำเนินมาทางสมุทัย

เรียกว่าใจไหลไปตามมิจฉา

ผู้ที่เดินตามกระแสแห่งมรรค หากมีปัญญาแม้เล็กน้อย ได้ชื่อว่า ไม่สงสัย ไม่งมงายตามกระแส ที่เจ้าของมีความเห็น

นี่เรียกว่า ใจเข้าเขตแดนแห่งสังโยชน์สาม

ไม่ใช่ไปท่องจำหัวข้อของสังโยชน์สาม ตามบาลีเขาว่า หากผิดไปจากนิยามคำแปลแล้วไม่ใช่ สังโยชน์สาม

เราแปลเขามา จำเขามา แล้วเราเข้าใจว่า มันเป็นอย่างนั้นมันเป็นอย่างนี้

นี่ เพราะความรู้มากมันเป็นเหตุ

ปล่อยรู้ซะมั่ง มันก็ดี ให้เจ้าตัวปล่อยดีกว่าให้คนอื่นปล่อย นี่ สุดยอดคน

ไม่ใช่เจ้าค่ะ เกี่ยวตรงไหนเพราะเขาพูดไม่ได้ (ใบ้) มิใช่ไม่ได้พูด ต่างกันโดยสิ้นเชิง เจ้าค่ะ คนใบ้พูดไม่ได้ เกิดมามีบุญ เป็นสัมมาวาจา คิดว่าไม่ใช่ค่ะ แต่การแสดงออกทางวาจาที่เป็นกุศล ( พูดแล้วกุศลเจริญ) นี่เห็นด้วยค่ะ

พระอาจารย์ : นี่ก็แสดงว่า คำพูดทั้งหลายไม่ควบคุมถึงความเป็นสัมมาวาจา ยอมรับไหม Kirana Chamwecha

การแสดงออกนี่ จากใจที่เป็นกุศลนี่ จึงเรียกว่าวาจา

คนใบ้แสดงออกจากเจตนาใจที่จริงใจ ที่เป็นกุศล นี่ เป็นคำพูดที่เขาสื่อวาจาออกมา

ภาษาธรรมไปยึดเป็นคำๆ แม่งโต่งตายชัก

พอผิดไปจากที่จดที่บัญญัติ ก็มักตัดสินว่า ไม่ใช่แล้ว

เราไม่ชอบอย่างนั้นเราไม่ชอบอย่างนี้ เพราะมันผิดไปจากที่เรามันมีดี

ทำไมเราไม่ชอบใจเรา ที่ไม่ชอบอย่างนั้นไม่ชอบอย่างนี้บ้างเล่า มันจะได้พอดีๆกัน ทั้งใจเขาและใจเรา

ที่กล่าวว่า งั้นคนใบ้ก็เป็นสัมมาวาจาด้วยซิ เพื่อชี้ให้เห็นว่า แม้พูดไม่ได้ ก็ไม่ใช่สัมมาวาจา ไม่ใช่ คนใบ้เป็นสัมมามาวา ฟังให้ดี พิจารณาให้ละเอียด

การฟังอักษรทางตา เมื่อขาดการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน มันก็เอาความคิดตนที่ไม่เห็นด้วยไม่ถูก ไม่ควร เข้าไปตีความ ผลก็ออกมาอีกทาง

และเจ้าของก็หลงในผลนั้นซะด้วย นี่คือปัญหาของสื่อทางอักษรที่ต่างคนต่างตีความ แจ่ละคนมักให้ความหมายแก่ตน ด้วยความเข้าใจที่ไม่เหมือนกัน

วันนี้อากาศเย็นจริงๆ เลยพับผ่า เอาโทรศัพท์มานั่งอ่านก็ปวดลูกกระตา

ใครว่างๆ เดินทางมา ขนปัญญามาพูดคุย น่าจะดีกว่ามานั่งแปลภาษา

อีกไม่นานก็จะจากกันแล้ว พี่น้องเอ๋ย

มีอะไรที่ยังยึด ไม่เข้าใจ ให้รีบมาถาม

ก่อนกายนี้จะสลายไป ไม่ทันรู้ความ

รีบเข้ามาถามๆ จะบอกให้พร้อมเหตุและปัจจัยในทางแห่งธรรม

ข้านี่รักทุกคน อยากให้ทุกคนเข้าใจความจริงที่เราเห็นกันอยู่นี้ ด้วยจักษุของตัวพวกเราเอง

เย็นนี้ขอเป็นกำลังใจ มีใครมาก็ไม่รู้ เจี๊ยวจ๊าวเลยที่ท่าน้ำ

ขอสาธุคุณให้ร่ำรวยกับทุกคน

พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง ว่ากันตามธรรม ไม่ได้ว่ากันตามใจตน ณ วันที่ 10 มกราคม 2557 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง